‘เบียร์’ ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมที่จะออกกำลังจริงหรือ ?

'เบียร์' ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมที่จะออกกำลังจริงหรือ ?

ในสังคมของผู้ที่ชื่นชอบออกกำลังกาย หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นนักกิจกรรมตัวยงอาจเข้าใจกันไปว่า เมื่อเวลาที่เราอ่อนแรง หรือร่างกายขาดความกระปรี้ประเปร่า เพียงจิบ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปเพียงเล็กน้อยก็จะช่วยให้ร่างกายตื่น มีแรงกระตือรือร้น พร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆ ต่อไปได้ ซึ่งนี่ก็ไม่รู้ว่าเป็นความเชื่อที่ผิด  ดื่มเข้าไปแล้วจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของเรารึเปล่า หรือเป็นเพราะร่างกายของเราต้องได้รับการกระตุ้นแบบนั้นจริงๆ โดยในที่นี้เราจะยกตัวอย่างเป็น ‘เบียร์‘ ก็แล้วกัน

จากข้อมูลที่เราได้พยายามไปค้นคว้ามา ถึงแม้ว่า ‘เบียร์’ จะเป็นเครื่องดื่มที่ดื่มในหน้าร้อนแล้วให้ความรู้สึกสดชื่น แต่ในแง่ของคนที่ชอบออกกำลังกาย หรือต้องทำกิจกรรมหนักต่อเนื่องหลายวัน เบียร์ นับเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียได้ในปริมาณมากและเร็วขึ้น ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องดี

จากเรื่องเล่าในศตวรรษที่ 19 เคยมีผู้ที่ทดลองนำเอาแอลกอฮอล์ไปใช้เป็นสารเพิ่มความสามารถในการแข่งขันวิ่งมาราธอน โดยนักกีฬาได้ดื่มบรั่นดีในระหว่างที่จะลงแข่งขันในปริมาณน้อยๆ ซึ่งทุกวันนี้นักกีฬาหลายคนก็ยังคงเชื่อแบบนั้น เชื่อว่าแอลกอฮอล์จะช่วยปลุกให้ร่างกายของเราตื่นได้ แต่รู้หรือไม่ว่ามันให้ผลที่ตรงกันข้ามกัน เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปลดความสามารถด้านความเร็วในร่างกายของเรา ลดความอดทนของกล้ามเนื้อและหลอดเลือด หากดื่มเข้าไปมากๆ ก็จะมีผลกระทบต่อความสมดุลและความเร็วของปฏิกิริยาตอบสนอง ลองสังเกตตามสถานการณ์ปกติได้ว่า เวลาคนเมา หรือเมามากๆ มักจะไม่มีแรงแม้กระทั่งพยุงตัวเองให้เดินต่อไปข้างหน้าได้ พอเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น ความสามารถในการแข่งขันของร่างกายก็จะคงไม่ถูกฟื้นฟู จนกว่าฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะหมดไป

จากความเชื่อเดิมๆ ของบรรดานักกีฬาที่ว่า ความหวานที่มีอยู่ในเบียร์จะสามารถเข้าไปช่วยเสริมน้ำในร่างกายและน้ำตาลในเลือดได้ โดยก่อนที่จะฝึกซ้อม หรือลงแข่งขันก็ให้จิบเบียร์สักเล็กน้อย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เบียร์ ที่มีปริมาณ 360 ลิตร มีน้ำตาลอยู่แค่เพียง 16 กรัม โดยพลังงานที่ได้ส่วนใหญ่มาจากแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะดูดซึมเร็วและง่าย แต่แอกอฮอล์ก็จะเข้าไปตกค้างอยู่ในตับ ไม่ใช่กล้ามเนื้อ ฉะนั้น เบียรืจึงไม่สามารถให้พลังงานที่กล้ามเนื้อต้องการได้

ในอีกด้าน เบียร์ จะเข้าไปกระตุ้นให้ไตขับปัสสาวะ อาจทำให้ร่างกายต้องสูญเสียน้ำได้เร็วขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ง่าย จึงสรุปได้ว่า นักกีฬา ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย คุณผู้ชาย หรือคนทั่วๆ ไปที่ทำกิจกรรมแล้วต้องใช้แรงไม่ควรที่จะดื่มเบียร์ แต่ให้เลือกดื่มระหว่างมื้ออาหารแทน ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำเปล่า เพื่อทดแทนน้ำที่จะสูญเสียไปจากการดื่มเบียร์ยังไงล่ะ